จิตวิทยาว่าด้วยเงิน The Psychology of Money

จิตวิทยาว่าด้วยเงิน The Psychology of Money

บทเรียนเหนือกาลเวลาเรื่องความมั่งคั่ง ความโลภ และความสุข

ผู้เขียน – Morgan Housel

ผู้แปล – ธนิน รัศมีธรรมชาติ

เนื้อหาโดยสังเขป

อย่างที่เรารู้ เราเกิดมาคนละยุค ถูกเลี้ยงดูมาต่างกัน มีความลำบากในชีวิตต่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละครับ จะเป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้คนแต่ละคนมีความโดดเด่นขึ้นมา มีแนวคิดแตกต่างกันออกไป บางคนกลัวตลาดหุ้น บางคนกลัวเงินเฟ้อ ทุกคนต่างมองด้วยเลนส์ที่ต่างกัน ใครที่ไม่ได้เสียเงินตอนปี 2008 ก็จะไม่เข้าใจว่ามันรู้สึกน่ากลัวแค่ไหน

สิ่งที่คุณเคยเข้าใจอาจจะเป็นแค่ 0.0001% ของสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจริง อย่าไปคิดว่านั่นคือสิ่งที่คุณรู้ทั้งหมด

เพราะบางอย่างที่คุณได้พบเจอมันอาจจะดูไร้สาระสำหรับคุณ แต่มันอาจจะเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลสำหรับคนอื่น ดังนั้นคุณมอร์แกนผู้เขียนเค้าได้ให้คำแนะนำว่า คนเราควรจะวางแผนการเงินตามเป้าหมายที่ต้องการ แต่ความเป็นจริงคนเราไม่ได้ทำอย่างนั้นเสมอไป และจะใช้ประสบการณ์ส่วนตัว

ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของดัชนีตลาดหุ้น ดัชนีตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา บางช่วงเวลาได้ผลตอบแทนที่สูง และบางช่วงอาจจะไม่ได้ผลตอบแทน อาจจะขาดทุนด้วยซ้ำ คนที่เกิดในสองช่วงนี้ก็คงจะมีความคิดเห็นที่เกี่ยวกับตลาดหุ้นที่ไม่เหมือนกัน และมันก็จะมีอิทธิพลกับการวางแผนการเงินของเขาด้วย

สังเกตได้ว่าคนที่ถูกผลกระทบในปีวิกฤต 2542 เค้าจะมองว่าตลาดหุ้นเป็นการลงทุนที่เสี่ยง ถ้าเราไปถามเรื่องของตลาดหุ้น เค้าก็จะตอบกลับมาว่าลงทุนหุ้นเสี่ยงนะ สิ่งนี้คือสิ่งที่เค้าจะตอบกลับมา ซึ่งเราก็สามารถทำความเข้าใจได้ว่าเค้าเจอวิกฤติหนักในยุค 2542 ในประเทศไทย และมันทำให้เขามีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีในเรื่องของตลาดหุ้น

แต่ในยุคปัจจุบัน เราเกิดมาอาจจะไม่ได้เจอวิกฤตร้ายแรงขนาดนั้น วิกฤตที่หนักที่สุดก็อาจจะเป็นช่วงโควิดเข้ามา แต่การลงทุนไม่ว่าจะเป็นการลงทุนตลาดหุ้น กองทุน หรือคลิปโต การเสียงดีกว่ากันไม่เสี่ยงเลย นี่คือแนวคิดของคนในยุคปัจจุบัน

ดังนั้นแล้วจะเห็นได้เลยว่าชีวิตส่วนตัวเราเอง เราก็จะมีคนที่มีแนวคิดแตกต่างกันไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดเพราะเราต่างเจอประสบการณ์มาไม่เหมือนกัน เราจะผิดทันทีก็ต่อเมื่อเราไปตัดสินว่าสิ่งที่เขาเชื่อมันเป็นสิ่งที่ไร้สาระ

ดังนั้นอย่าไปตัดสินความเชื่อใคร อย่าไปลดคุณค่าตัวตนของใครด้วยการทำลายความเชื่อของเขา เราต้องเคารพความเชื่อซึ่งกัน และกันนี่คือสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น

เพราะความเชื่อและประสบการณ์มันจะมีอิทธิพลกับการวางแผนทางการเงินของเราด้วย เรื่องกลยุทธ์ของการเงินมีมาหลาย 1000 ปีแล้ว แต่ในเรื่องของการลงทุนเพิ่งมีได้ไม่นาน ไม่แปลกใจที่ผู้คนจะไม่ได้เชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้ง